สำนวน “รู้เช่นเห็นชาติ”

การใช้คำว่า “ชาติ” ก็เพื่อจะสื่อถึงการที่เรารู้จักคน ๆ หนึ่งดีมาก รู้ไปถึงชาติกำเนิด เทือกเถาเหล่ากอ ซึ่งนำมาเปรียบเทียบถึง การรู้จักนิสัยใจคอกันและกันเป็นอย่างดีนั่นเอง

20 28

สำนวน “มาเหนือเมฆ”

ที่มาของสำนวน มาจากความเชื่อโบราณที่ว่า ผู้ที่มีอิทธิฤทธิ์สามารถเหาะเหินเดินอากาศเหนือเมฆได้ ดังนั้น จึงใช้เปรียบเทียบกับคนที่มีสติปัญญา ความคิด หรือแผนการที่มีชั้นเชิงเหนือความคาดหมายกว่าผู้อื่นนั่นเอง

7 7

สำนวน “ไกลปืนเที่ยง”

ที่มาของสำนวนมาจากในสมัยร.5 จะมีการยิงปืนใหญ่ในเวลาเที่ยง เรียกว่า”ปืนเที่ยง” ในพระนคร เพื่อให้รู้ว่าเป็นเวลาเที่ยงวัน ซึ่งคนในพระนครได้ยิน แต่คนอยู่ไกลออกไปไม่ได้ยิน
สำนวนนี้จึงเปรียบถึงคนที่อยู่ไกลไม่ค่อยรับรู้ข่าวสารใดๆ

5 5

สำนวน “ติเรือทั้งโกลน”
ในสมัยก่อนจะใช้ท่อนซุงทั้งท่อนในการสร้างเรือ โดยจะเจียนหัวท้ายให้แหลม เราเรียกว่า ”โกลน” จากนั้นก็จะทำการขุดลงไปและตัดเซาะให้มีรายละเอีบดสวยงาม
สำนวนนี้เปรียบถึงคนที่มาติโน่นตินี่ในตอนที่ยังไม่ได้เริ่มขุดแต่งเรือนั่นเอง

18 13

“ผูกพัน” เขียนแบบนี้นะคะ✔️

ส่วนคำว่า สัมพันธ์ หมายถึง ผูกพัน เกี่ยวข้อง เช่น เขากับฉันมีความสัมพันธ์ฉันญาติ
“ผูกพัน” กับ “สัมพันธ์” มีความหมายคล้ายกัน จึงทำให้เกิดความสับสนในการเขียนนั่นเองค่ะ

9 14

“ประกาศนียบัตร” เขียนแบบนี้นะคะ✔️

อ่านได้ 2 แบบ คือ ประ-กา-สะ-นี-ยะ-บัด/ประ-กาด-สะ-นี-ยะ-บัด

7 9

“บุคลากร” เขียนแบบนี้นะคะ✔️

ที่บางคนเขียนผิดเป็น บุคคลากร อาจเพราะสับสนมาจากคำว่า บุคคล ซึ่งมี “ค ควาย” 2 ตัว
ที่ถูกต้องคือ บุคลากร มี “ค ควาย” เพียงแค่ตัวเดียวนะ ✔️

11 12

“สัญชาตญาณ” เขียนแบบนี้นะคะ✔️
อ่านว่า สัน-ชาด-ตะ-ยาน

มาจาก สัญชาต + ญาณ
- สัญชาต แปลว่า เกิดขึ้นเอง
- ญาณ แปลว่า ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ

5 12

“สังเกต” เขียนแบบนี้นะคะ✔️

ที่บางคนเขียนผิดเป็น “สังเกตุ” (ตัว ต มีสระอุ) อาจเพราะจำมาจากคำว่า “สาเหตุ” ก็เป็นได้

ดังนั้นที่ถูกต้อง คือ…
สังเกต ✔️
สังเกตการณ์ ✔️
สาเหตุ✔️ (คำนี้ ตัว ต ต้องมีสระอุ)

11 9

“สุคติ” เขียนแบบนี้นะคะ ✔️
อ่านว่า สุ-คะ-ติ หรือ สุก-คะ-ติ ก็ได้

❌สุขคติ ไม่มีในพจนานุกรม❌

14 16

“เลือนราง” เขียนแบบนี้นะคะ✔️

“เลือน” หมายถึง มัว, ไม่แจ่มแจ้ง
“ราง” หมายถึง ไม่กระจ่าง ไม่ชัดเจน เช่น เห็นภาพราง ๆ (หรือหมายถึง รางระนาด,รางรถไฟ,รางน้ำฝน)

ส่วนคำว่า "ลาง" หมายถึง สิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เชื่อกันว่าจะบอกเหตุดีหรือเหตุร้าย

8 10

“ผุดลุกผุดนั่ง” เขียนแบบนี้นะคะ✔️

ผุด = ขึ้นมาให้ปรากฎ, โผล่ให้เห็น
ผลุด = ลื่นหลุดหรือมุดออกจากช่องหรือที่แคบ ๆ โดยเร็ว

12 13

“รังควาน” เขียนแบบนี้นะคะ ✔️

ที่บางคนเขียนผิดเป็น “รังควาญ” อาจเพราะจำมาจากคำว่า “ควาญ” ที่หมายถึง ผู้เลี้ยง คนบังคับ หรือผู้ขับขี่ช้าง (ใช้กับสัตว์ชนิดอื่นก็ได้ เช่น ควาญแรด, ควาญม้า, ควาญแกะ)

10 13

“ชโลม” เขียนแบบนี้นะคะ ✔️

13 20

“หย่าร้าง” เขียนแบบนี้นะคะ✔️
คำว่า “หย่า” กับ “อย่า” ออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกันค่ะ

อย่า = คำประกอบกริยาที่บอกห้ามหรือไม่ให้ทำการสิ่งใด ๆ
หย่า = เลิกเป็นสามีภรรยากัน หรือหมายถึง เลิก เช่น หย่านม, หย่าศึก

14 10

“รณรงค์” เขียนแบบนี้นะคะ ✔️

10 7

“ปรนนิบัติ” เขียนแบบนี้นะคะ ✔️
อ่านว่า ปรน-นิ-บัด

10 10

“พรรณนา” เขียนแบบนี้นะคะ
อ่านว่า พัน-นะ-นา

*พรรณนาโวหาร คือ ถ้อยคำหรือสำนวนที่บรรยายหรือเล่าไว้อย่างละเอียดเพื่อให้ผู้อ่านนึกเห็นเป็นภาพ

14 10

“ตงิด” เขียนแบบนี้นะคะ ✔️
อ่านว่า “ตะ-หงิด”

เช่น หิวตะหงิด ๆ , โกรธตงิด ๆ, สังหรณ์ใจตงิด ๆ

11 9

“พังทลาย” เขียนแบบนี้นะคะ ✔️

*เพิ่มเติม
คำว่า “ทะลาย” ก็มีในพจนานุกรมค่ะ หมายถึง ช่อผลของหมากหรือมะพร้าวที่ออกเป็นกลุ่มรวมกัน เช่น ทะลายหมาก ทะลายมะพร้าว

*ดังนั้น
ทลาย = กำแพงทลาย, ความฝันพังทลาย ✔️
ทะลาย = ทะลายหมาก, ทะลายมะพร้าว ✔️.

9 10